วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า



สวัสดีค่ะ จากครั้งที่แล้ววววววว เราได้ทำการถอดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ประกอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ออนคอมพิวเตอร์นอกเคส ฯลฯ จากรีวิวที่ผ่านๆมา ทำให้ได้ประสบการณ์ไปเยอะเลยค่ะ แล้วผู้อ่านรู้ไหม ? ว่าในครั้งนี้เราจะมารีวิวอะไรน๊าาาาาาา ...

ครั้งนี้เราจะมารีวิวการวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าในแต่ละพินของ power supply ค่ะ


เรามาดูอุปกรณ์ที่ใช้วัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้ากันค่ะ 


ตัวนี้เป็นที่วัดความต่างศักย์ไฟฟ้าแบบอนาล็อกค่ะ เรียกว่า มัลติมิเตอร์แบบอนาล็อก


ตัวนี้จะเป็นที่วัดความต่างศักย์ไฟฟ้าแบบดิจิตอลค่ะ เรียกว่า มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล

ถ้าเป็นแบบดิจิตอลนะคะ ก็จะดูค่าง่ายกว่าแบบอนาล็อกเพราะมีตัวเลขขึ้นบอกเลย แต่ถ้าเป็นแบบอนาล็อกเราก็ต้องนับค่าตามเข็มที่ชี้ไปยังตัวเลขนะคะ แต่เราก็ควรเรียนรู้ไว้ทั้ง 2 แบบค่ะ จะได้ใช้งานเป็นทั้ง 2 แบบเลย


รู้จักอุปกรณ์ไปแล้ว ต่อไป เราไปดูตัว power supply กันค่ะ


จากภาพด้านบนจะเป็นตัว power supply ค่ะ แล้วสายหลายๆสีที่ต่อกับ power supply นั้น เราเรียกว่า สาย connector ค่ะ สายนี่นี่แหละ ที่เราจะเอามาวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า เดี๋ยวเราไปดูสาย connector กันแบบใกล้ๆดีกว่า 


จากภาพจะเป็นสาย connector นะคะ ที่เห็นมีกิ๊ฟสีดำเสียบอยู่ นั่นก็คือ เราเอากิ๊ฟดำมาเป็นตัวนำไฟฟ้า โดยการเสียบลงไปที่พินนะคะ

จากภาพด้านบน จะเป็นภาพจำลองสาย connector ค่ะ โดยจะมีทั้งหมด 20 พิน

ต่อไปเราไปดูวิดิโอการวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้ากันดีกว่าค่ะ ลองดูนะคะว่าค่าจะใกล้เคียงกับภาพจำลองด้านบนหรือเปล่า


จากวิดิโอนะคะ เราจะได้ค่าใกล้เคียงกับภาพจำลองด้านบน โดยค่าที่เราวัดได้ ตามรูปภาพข้างล่างนี้เลยค่ะ


ก็จบแล้วนะคะ สำหรับการวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าของ power supply เป็นการวัดที่ง่ายนิดดเดียว คราวหน้าจะมารีวิวอะไร อย่าลืมติดตามนะค๊าาาาา สำหรับครั้งนี้ก็ขอบคุณที่เข้ามารับชมค่ะ ผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ บ๊ายยยยบายยยย ~~~~

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เปิด - ปิด - รีเซต เครื่องคอมพิวเตอร์นอกเคส

สวัสดีค่ะ ครั้งนี้มารีวิวการเปิด - ปิด - รีเซต เครื่องคอมพิวเตอร์นอกเคสค่ะ เวลาเราจะเล่นคอมพิวเตอร์ก็จะกดปุ่มเปิดเครื่องตรงเคสกันใช่ไหมคะ แต่ครั้งนี้เราไม่ทำอย่างนั้นค่ะ เราจะไม่กดปุ่มที่เคส แต่จะทำอีกวิธี ไปดูกันค่ะ ว่าเราจะเปิดกันได้อย่างไร ...

ก่อนอื่นก็ต้องถอดเมนบอร์ด และอุปกรณ์อื่นๆออกมาก่อนนะคะ 
 



 เมนบอร์ดที่ถอดออกมาจะเป็นยี่ห้อ ASUS รุ่น P4S333-VM ค่ะ

ถอดเมนบอร์ดออกมาแล้ว ฝุ่นเต็มเลยค่ะ ดูได้จากวิดิโอ 55555
 

จากนั้นเราจะต่อสายอุปกรณ์ทั้งหมดที่ถอดออกมา แต่ไม่ต่อเข้ากับเคสค่ะ 
 
จะทำการเปิด - ปิด - รีเซตเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยไม่กดปุ่มที่เคส ก็ต้องมีการศึกษาข้อมูลก่อน โดยได้มีการเปิดศึกษาข้อมูลใน Data sheet กันค่ะ
 
.
.

จากรูปข้างล่างนะคะ ที่วงกลมสีแดงไว้ก็คือปุ่มกดเวลาเปิดเครื่อง ปกติเราก็จะกดปุ่มนี้กันใช่ไหมคะ แต่ครั้งนี้เราลองไปดูวิธีอื่นกันค่ะ ว่าจะเปิดได้อย่างไร ...



จากรูปข้างบนเป็นแบบจำลองเมนบอร์ด แล้วทางฝั่งขวาที่มีลูกศรโยงออกมา นั้นคือ PIN ที่ใช้ในการเปิด-ปิด-รีเซตเครื่องคอมพิวเตอร์ค่ะ
 .
.
 
เมื่อศึกษาจาก Data Sheet แล้ว ก็ลองเอาไขควงหัวแบนมาแตะที่ PIN ค่ะ มือต้องนิ่งนะคะ ไม่งั้นแตะไม่โดน PIN ค่ะ 




เราไปดูวิดิโอกันค่ะว่าเมื่อเอาไขควงมาแตะที่ PIN ตามรูปภาพแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์จะติดหรือเปล่า

จากวิดิโอนะคะ เครื่องคอมพิวเตอร์เปิดได้ ปิดได้ และรีเซตได้ค่ะ เย้ๆ ^0^ 
 

ถ้าใครสนใจจะศึกษาข้อมูลเมนบอร์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ลองศึกษาใน Data Sheet ของเมนบอร์ดแต่ละรุ่นได้ค่ะ ส่วนของใครที่เป็นยี่ห้อ ASUS รุ่น P4S333-VM สามารถศึกษาข้อมูลได้ตามข้างล่างนี้ค่ะ
 
ผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ค่า
 
ขอบคุณที่เข้ามาชมบล็อคนี้นะคะ ^^ ~~~~

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เปลี่ยน Power Supply


สวัสดีค่ะ วันนี้จะมารีวิวการเปลี่ยน Power Supply ค่ะ ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 แล้วที่ได้มารีวิว เราไปดูกันค่ะ ว่าครั้งนี้ได้ทำอะไรกันบ้าง

.
.
.
ครั้งนี้ทำการนำพัดลมไปเปลี่ยนกับของเพื่อน ก่อนจะทำได้ ก็ขอดูการสาธิตจากอาจารย์ก่อนค่ะ 





ก่อนอื่นต้องทำการถอดอุปกรณ์ แล้วนำพัดลมไปสลับกับของเพื่อนค่ะ
 

เมื่อถอดอุปกรณ์แล้ว ข้างในก็จะเป็นอย่างนี้ค่ะ



พอถอดออกมาแล้ว ก็จะเห็นกันใช่ไหมคะ จะเห็นว่า ข้างในนั้น ... ฝุ่นเต็มเลยค่ะ

.
.

นี่แผงวงจรค่ะ


จากนั้นเราก็จะนำพัดลมไปเปลี่ยนกับของเพื่อนนะคะ

การที่จะเอาพัดลมไปเปลี่ยนกับของเพื่อนนั้น เราก็ต้องถอดสายพัดลมที่เชื่อมต่อกับแผงวงจรออกด้วย
โดยการละลายตะกั่วด้วยหัวแร้งค่ะ ใครที่ไม่รู้จักหัวแร้ง จะเห็นได้จากภาพด้านล่างนะคะ

เมื่อละลายตะกั่วแล้ว ก็ทำการดูดตะกั่วออกค่ะ เห็นได้จากภาพด้านล่างนะคะ เพื่อนเสื้อสีชมพูทำการละลายตะกั่ว ส่วนเพื่อนเสื้อสีดำทำการดูดตะกั่วออกค่ะ

เมื่อถอดสายพัดลมออกจากแผงวงจรแล้ว ทีนี้ก็จะนำสายพัดลมไปเชื่อมกับแผงวงจรอีกแผงหนึ่งค่ะ
โดยเราต้องบัดกรีสายพัดลมนั้นเข้ากับแผงวงจร เพื่อให้สายพัดลมมันอยู่แน่นๆ  แต่ต้องจำไว้ด้วยว่าสายไหนเป็นสายไหน สายไหนอยู่ด้านไหน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร




เมื่อเชื่อมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ทำการต่อสายไฟ และทดลองเปิดดูค่ะ ว่าพัดลมจะทำงานไหม
โดยเราจะใช้อุปกรณ์ช่วยก็คือแหนบ ซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้าได้ดี

เมื่อลองเสียบปลั๊กไฟแล้ว พัดลมก็ทำงานตามปกติค่ะ ถือว่าภาระกิจนี้ลุล่วงไปได้ด้วยดี 

การทดลองเปิดพัดลมเห็นแค่รูปภาพ อาจมองกันไม่ค่อยออกว่ามันจะทำงานกันยังไง งั้นไปชมวิดิโอกันค่ะ 


(ภาพอาจจะไม่ค่อยชัดนะคะ ต้องขออภัยด้วยค่ะ )