วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2559

จะทำอย่างไร ? เมื่อลืมรหัสผ่าน ubuntu server !!

สวัสดีค่ะ มาพบกันอีกแล้ว !!

ครั้งที่แล้วๆก็ได้เขียนบทความเกี่ยวกับการลง ubuntu server ใน virtual box ไป ครั้งนี้ก็จะมาเขียนบทความเกี่ยวกับ ubuntu เช่นเคยค่ะ  ...

เมื่อเราจะเข้า ubuntu เนี่ย ก็ต้อง login และใส่ password ใช่ไหมคะ แต่ในกรณีที่เราลืม password ล่ะ จะทำอย่างไรกันดี ?? 

เมื่อลืม password เข้า ubuntu ก็ไม่ต้องคิดมากนะคะ เข้าได้แน่นอนค่ะ ถ้าทำตามนี้ !! 

.
.

1.เปิด โปรแกรม virtual box ขึ้นมา แล้วกด Start ค่ะ 


2. จากนั้นจะขึ้นหน้าต่างนี้ขึ้นมา ให้เลือกบรรทัดที่สองนะคะ *Advanced options for Ubuntu แล้วก็กด Enter เลยค่ะ


3.จากนั้นให้เลื่อนๆลงมา เลือก root ค่ะ แล้วก็ Enter เลย


4. พอเลือก root แล้ว มันก็จะขึ้นข้อความด้านล่าง ตามภาพค่ะ แล้วก็ให้เราพิมพ์ว่า
mount -o rw,remount /
จากนั้นก็กด Enter 


5.ต่อมาให้พิมพ์ว่า ls /home จากนั้นกด Enter


6.จากที่เราพิมพ์ตามข้อที่ 5 เมื่อกด Enter มันก็จะขึ้น username ของเราค่ะ ที่เป็นตัวสีน้ำเงิน จากนั้นก็ให้เราพิมพ์ว่า passwd ตามด้วย username ของเราค่ะ จากนั้นกด Enter


7.เมื่อพิมพ์ตามข้อที่ 6 แล้ว มันก็จะขึ้นให้เราพิมพ์ password ใหม่ลงไปค่ะ พิมพ์ไปก็ไม่ต้องตกใจนะคะ ทำไมมันไม่ขึ้นอะไรเลย ใช่ค่ะ มันจะไม่ขึ้นตัวอักษรให้เราเห็นเมื่อพิมพ์ password


8.พิมพ์ password อีกรอบค่ะ


9.เมื่อเปลี่ยน password ใหม่ ถ้าไม่มีปัญหาอะไร ก็จะขึ้นว่า password updated successfully


10.จากนั้นให้พิมพ์ว่า exit


11. มาหน้าต่างนี้ก็เลือกบรรทัดแรกเลยค่ะ resume


12.มาหน้านี้ก็ Enter เลยค่ะ


13.เมื่อขึ้นหน้าต่างนี้มา ก็รอสักครู่ ...

14.แล้วก็จะมาหน้านี้เพื่อทำการ log in ค่ะ ให้ใส่ username กับ password ที่เราตั้งใหม่ลงไป 


15. เมื่อขึ้นแบบนี้ ก็แสดงว่าไม่มีปัญหาอะไร เข้า ubuntu server ได้ตามปกติค่ะแล้วค่ะ !

เห็นไหมล่ะคะ ว่าไม่ต้องคิดมาก เมื่อเราลืมรหัสผ่าน ubuntu server 
เมื่อมีปัญหาก็ต้องมีทางแก้เสมอค่ะ >.<
หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกๆท่านเลยนะคะ
วันนี้ก็ฝากไว้เท่านี้ค่ะ ไว้เจอกันใหม่กับบทความหน้าน๊าาา ^^

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559

การเลือกอุปกรณ์ประกอบคอมพิวเตอร์สำหรับสำนักงาน

วัสดีค่ะ มาพบกันอีกเช่นเคย ครั้งนี้จะมาเขียนบทความเกี่ยวกับการเลือกอุปกรณ์ประกอบคอมพิวเตอร์อีกครั้งค่ะ 

.
.

ครั้งนี้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์สําหรับสํานักงาน ในราคา 16,000 บาท โดยครั้งนี้ก็จะมีคุณลักษณะพื้นฐานมาเป็นแนวทางในการเลือกอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์สําหรับสํานักงานค่ะ 

โดยคุณลักษณะพื้นฐานสามารถดูได้ที่นี่ >> http://www.mict.go.th/assets/portals/1/files/download/590314_Spec_%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87_2559_Full.pdf
ในนี้ก็จะมีให้เราได้ศึกษาหลายแบบเลย ไม่ใช่แค่สำหรับการประกอบคอมพิวเตอร์สำหรับสำนักงานอย่างเดียว  ผู้อ่านสามารถลองเข้าไปศึกษากันได้นะคะ 

กว่าเราจะได้อุปกรณ์ที่คิดว่าเหมาะสม และอยู่ในงบ 16,000 บาท ก็ได้มีการคำนวณเอาไว้ก่อน โดยได้คำนวณราคาไว้ใน Excel ค่ะ



เมื่อคำนวณราคาแล้ว ได้ 15,705 บาทค่ะ ยังอยู่ในงบนะคะ ><


รายละเอียดต่างๆก็จะคล้ายๆกับบทความที่แล้วในเรื่องการเลือกอุปกรณ์ประกอบคอมพิวเตอร์สำหรับโฮมออฟฟิศในราคา 17,500 บาท เดี๋ยวเราไปดูกันดีกว่าว่าครั้งนี้จะเลือกอุปกรณ์ประกอบคอมพิวเตอร์เป็นตัวไหนกันนน ...

1. CPU
มีหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ไม่น้อยกว่า 2 แกนหลัก (2 core) มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 3.3 GHz หรือดีกว่า จํานวน 1 หน่วย 

อุปกรณ์ที่เลือก คือ INTEL Pentium G4400 ในราคา 2,180 บาท 



(http://notebookspec.com/pc-cpu/INTEL-Pentium-G4400/214)

2.RAM
มีหน่วยความจําหลัก (RAM) ชนิด DDR3 หรือดีกว่า มีขนาดไม่น้อยกว่า 4 GB 

อุปกรณ์ที่เลือก คือ KINGSTON DDR3 4GB 1600 ราคา 770 บาท



(http://notebookspec.com/pc-ram/KINGSTON-KINGSTON-DDR3 4GB 1600/126)

3.Hard Disk
มีหน่วยจัดเก็บข้อมูลชนิด SATA หรือ ดีกว่า ขนาดความจุไม่น้อยกว่า 1 TB หรือ ชนิด Solid State Disk ขนาดความจุไม่น้อยกว่า 100 GB จํานวน 1 หน่วย

อุปกรณ์ที่เลือก คือ TOSHIBA 1TB ราคา 1,610 บาท



(http://notebookspec.com/pc-hdd/Toshiba-Toshiba-1TB/115)

4.DVD-RW

มี DVD-RW หรือดีกว่า จํานวน 1 หน่วย

อุปกรณ์ที่เลือก คือ DVD RW SATA 24X ASUS รุ่น 24D5MT (Box) ราคา 495 บาท

(https://www.advice.co.th/product/optical-disk-drive/dvd-rw-sata/dvd-rw-sata-24x-asus-%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99-24d5mt-box-)

5.Mother Board หรือ Main Board

มีช่องเชื่อมต่อระบบเครือข่าย (Network Interface) แบบ 10/100/1000 Base-T หรือดีกว่า จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ช่อง และอีกอย่างนะคะ ก็ต้องเลือกให้เข้ากับชนิดของ RAM และCPU ด้วย 

อุปกรณ์ที่เลือก คือ ASUS H110M-K D3 ราคา 2,300 บาท


(http://notebookspec.com/pc-mb/ASUS-H110M-K-D3/688)

6.Monitor
มีจอภาพแบบ LCD หรือดีกว่า มี Contrast Ratio ไม่น้อยกว่า 600 : 1 และมีขนาดไม่น้อยกว่า 18.5 นิ้ว จํานวน 1 หน่วย

อุปกรณ์ที่เลือก คือ ACER S200HQLHb ราคา 2,550 บาท


(http://notebookspec.com/pc-monitor/ACER-S200HQLHb/571)

7.แป้นพิมพ์

อุปกรณ์ที่เลือก คือ PS/2 Keyboard G-TECH (KB-536) Black ราคา 140 บาท

 
(https://www.advice.co.th/product/keyboard/g-tech/ps-2-keyboard-g-tech-kb-536-black)

8.เมาส์

อุปกรณ์ที่เลือก คือ USB Optical Mouse 45 DEGREE (F-53) Black ราคา 110 บาท



(https://www.advice.co.th/product/mouse/45-degree/usb-optical-mouse-45-degree-f-53-black)

9.VGA

อุปกรณ์ที่เลือก คือ ASUS R7 250X ราคา 3,360 บาท
อุปกรณ์ที่เลือกจะเป็นระดับกลางๆ แต่ก็สามารถปรับกราฟิกได้สวยงาม และเหมาะกับการทำงานที่ใช้การประมวลผลจาก Graphics Processing Unit   


(http://notebookspec.com/pc-vga/ASUS-R7-250X/391)

10.PSU

อุปกรณ์ที่เลือก คือ TSUNAMI Black Strom 550W ราคา 1,200 บาท


(http://notebookspec.com/pc-psu/TSUNAMI-Black-Strom 550W/252)

11.Case

Case ที่เลือกก็ต้องเลือกให้เข้ากับเมนบอร์ด ชนิดของเมนบอร์ดจะเป็น mATX ซึ่ง Case ก็ต้องรองรับ เมนบอร์ดชนิด mATX ค่ะ

อุปกรณ์ที่เลือก คือ Elite 311 (Black-Red) ราคา 990 บาท






(http://notebookspec.com/pc-case/COOLER-MASTER-Elite%20311%20(Black-Red)/145)




ก็จบไปแล้วสำหรับการเลือกอุปกรณ์ประกอบคอมพิวเตอร์สำหรับสำนักงานในราคา 16,000 บาท ก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่านนะคะ

ถ้าหากผิดพลาดประการใด ก็ต้องขออภัยด้วยค่ะ ^^



การติดตั้ง Ubuntu Server ใน Virtual Box !

สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันอีกแล้ว ครั้งนี้จะมาเขียนบทความเกี่ยวกับการติดตั้ง Ubuntu ใน Virtual Box ค่ะ

เดี๋ยวเราไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Virtual Box กันก่อนนะคะ 

.
.

Virtual Box คืออะไร ?

Virtual Box นี้เป็นโปรแกรมประเภท Virtual Machine
คือโปรแกรมที่มีไว้จำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เราเอาไว้ ติดตั้ง ระบบปฏิบัติการในนั้นได้ค่ะ โดยจะไม่ส่งผลต่อระบบปฏิบัติการเดิมที่มีอยู่ในเครื่องอยู่แล้ว อย่างเช่นเราใช้ window อยู่และอยากจะลองใช้ linux แต่ไม่อยากลบ window ทิ้ง หรือไม่อยากแบ่ง partition เพิ่อลง linux เราก็ใช้ Virtual Box ในการลง linux แทนได้โดยไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อ window ที่มีอยู่ก่อนแล้ว โดย Virtual Box นี้จะใช้พื้นที่ ฮาร์ดดิสที่ว่างอยู่ในการติดตั้ง linux โดยไม่รบกวนระบบ partition ของเดิมแต่อย่างใด

.
.

ก่อนอื่นเราต้องทำการดาวน์โหลดโปรแกรม Virtual Box และ Ubuntu ก่อน โดย
 Virtual Box สามารถโหลดได้ที่ : https://www.virtualbox.org/
Ubuntu Server สามารถโหลดได้ที่ : http://ubuntu-releases.sit.kmutt.ac.th/trusty/

ก่อนจะทำการดาวน์โหลดก็ต้องดูเครื่องเราด้วยนะคะว่า 32 bit หรือ 64 bit บางคนอาจจะยังไม่รู้นะคะ ว่าจะดูอย่างไร เรามีวิธีมาบอกด้วยค่ะ

ให้คลิกขวาที่ My Computer แล้วเลือก Properties 


แล้วก็จะเข้ามาที่หน้าต่างนี้ค่ะ ตรงกรอบแดงๆในรูปภาพด้านล่าง นั่นก็คือ System type ที่จะบอกว่าเครื่องเรา 32 bit หรือ 64 bit นะคะ สำหรับเครื่องของเรา 32 bit ค่ะ

เมื่อเราทำการดาวน์โหลดมาทั้ง 2 อย่างแล้ว ก็เริ่มการติดตั้ง Virtual Box ก่อนนะคะ ไปดูขั้นตอนการติดตั้งกันเลย !!

1.เมื่อขึ้นหน้าต่างนี้มา กด next เลยค่ะ

2.เลือก Location ที่จะเก็บพวกไฟล์ที่เราติดตั้งค่ะ จากนั้น กด Next

3.กด Next

 4.กด Yes

 5.กด Install

6.รอการติดตั้งค่ะ

 7.เมื่อขึ้นแบบนี้มา แสดงว่าติดตั้งเรียบร้อยค่ะ กด Finish


ต่อไปเราจะเริ่มทำการติดตั้ง Ubuntu Server กันนะคะ

1.เปิด Virtual Box ขึ้นมา แล้วคลิก New

2.ให้ตั้งชื่อ เลือก Type เป็น Linux ส่วน Version ให้เลือกที่ตรงกับเครื่องเรานะคะ ของเรา 32 bit ค่ะ

3.เลือกขนาด Memory size ค่ะ ขอเลือกเป็น 1024 MB

4.เลือก Create a virtual hard disk now จากนั้นกด Create

5.เลือก VDI จากนั้นกด Next ค่ะ

6.เลือก Dynamically allocated จากนั้นกด Next

7.เลือกขนาด File location and size เราขอเลือก 10 GB ค่ะ จากนั้นกด Create

8.แล้วก็จะขึ้นหน้าต่างนี้มานะคะ จากนั้นกด Settings ค่ะ 

9.ทำการตั้งค่า Network โดยกด Advance จากนั้นกด Port Forwarding

10.เมื่อขึ้นมาแบบนี้ ก็ให้กำหนดรายละเอียดตามรูปภาพด้านล่างเลยนะคะ ทำการเพิ่มข้อมูลโดยกดที่รูปเครื่องหมาย + ด้านข้างค่ะ จากนั้นกด OK 

11.เมื่อมาหน้านี้ ให้เลือก Storage

12.กดตรง Empty จากนั้นเลือกรูปแผ่นดิสก์ตรงหมายเลข 2 ตามภาพค่ะ เพื่อทำการเลือก ubuntu server ที่เราโหลดมา

13.เลือก ubuntu server ที่เราโหลดมา

14.เมื่อเลือกแล้ว จาก Empty เมื่อครู่ ก็จะเปลี่ยนเป็น ubuntu server ที่เราเลือกมานะคะ

15.จากนั้นเราก็กด Start เลยค่ะ

16.เลือกภาษาในการติดตั้ง เอาสากลก็ English ค่ะ จากนั้นกด Enter

17.เลือก Install Ubuntu Server จากนั้นกด Enter

18.เลือกภาษาอีกรอบค่ะ เราเอา English 

19.เลือกประเทศค่ะ ถ้าไม่มีในตัวเลือกหน้านี้ก็เลือก other แล้วลองหาประเทศที่ต้องการ

20.เลือก No

21.เลือกภาษาของแป้นพิมพ์



22.เลือกปุ่มเปลี่ยนภาษา

23.รอการติดตั้งค่ะ

24.ทำการตั้งชื่อ Hostname เมื่อตั้งเสร็จแล้วเลือก Continue

25.ทำการตั้งชื่อ user ใหม่ เราเอาชื่อเหมือนกันกับข้อเมื่อกี้ เมื่อตั้งเสร็จแล้วเลือก Continue

24.ทำการตั้ง username ค่ะ เมื่อตั้งเสร็จแล้วเลือก Continue

25.เลือก Yes

26.ทำการตั้งรหัสผ่านค่ะ มันจะขึ้นให้ใส่ 2 รอบนะคะ เมื่อตั้งเสร็จแล้วเลือก Continue




27.เลือก Yes

28.เลือก Guided - use entire disk and set up LVM

29.Enter เลยค่ะ

30.เลือก Yes 

31.เลือก Continue

32.เลือก Yes

33.รอการติดตั้งค่ะ

34.เลือก Continue

35.เลือก No automatic updates

36.มาหน้านี้เราจะทำการเลือก software ในการติดตั้ง วิธีการเลือกให้กด spacebar ส่วนของเราเลือก 2 อันแรก และ 2 อันสุดท้ายค่ะ จากกดนั้น Enter

37.เลือก Yes

38.พอขึ้นหน้านี้ก็คือติดตั้งเสร็จแล้วนะคะ เลือก Continue ค่ะ

39.เมื่อติดตั้งเสร็จก็จะทำการเข้า Ubuntu Server 

40.เลือก Ubuntu

41.มันจะขึ้นให้เรา login เข้า ubuntu เราก็ใส่ username และรหัสผ่านเลยค่ะ จากนั้นกด Enter

42.ถ้าไม่มีปัญหาอะไรก็จะเป็นแบบนี้นะคะ ก็คือติดตั้งเสร็จเรียบร้อย และเข้า ubuntu ได้อย่างไม่มีปัญหาค่ะ

ก็จบไปแล้วนะคะ สำหรับการติดตั้ง Ubuntu Server ใน Virtual Box 
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่าน หรือ ผู้ที่กำลังจะทำการติดตั้ง Ubuntu Server ใน Virtual Box นะคะ

หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ 

เจอกันใหม่บทความหน้าค่ะ ^^