วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

กระบวนการเริ่มต้นระบบคอมพิวเตอร์

สวัสดีค่ะทุกๆคน มาพบกันอีกแล้ว ในวันนี้จะมาเขียนบทความเกี่ยวกับกระบวนการเริ่มต้นระบบคอมพิวเตอร์ Booting Up !! ส่วนมากเราก็จะมีแต่เปิดคอมพิวเตอร์ แล้วก็ใช้งานกันตามปกติ แต่รู้หมือไร่ เอ้ยย รู้หรือไม่ ? ว่าคอมพิวเตอร์นั้นมันทำงานอย่างไร เดี๋ยวเราไปดูขั้นตอนต่างๆกันเลยดีกว่าค่ะ

1. ต้องทำการกดปุ่ม Power On ที่เคสก่อนนะคะ


2. เมื่อเรากดปุ่ม Power On แล้ว คอมพิวเตอร์ก็จะส่งสัญญาณไปยังแหล่งจ่ายไฟ หรือ Power Supply นั้นเอง จากนั้นจะเกิดการช็อตกราวน์ที่ PIN PS-ON ที่สายคอนเนคเตอร์ค่ะ เปลี่ยนไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternative Current : AC) เป็นไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current: DC) เพื่อจ่ายไฟให้กับเมนบอร์ด ซีพียู การ์ดขยาย และอุปกรณ์ส่วนอื่นๆ ด้วยปริมาณแรงดันไฟฟ้าที่เหมาะสม

3.เมื่อคอมพิวเตอร์ และส่วนประกอบต่างๆได้รับพลังงานที่เพียงพอแล้ว และแหล่งจ่ายไฟไม่มีปัญหาอะไร ก็จะสงสัญญาณโดยใช้ทรานซิสเตอร์ไปที่เมนบอร์ดและหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ขณะนั้นหน่วยประมวลผลก็จะทำการล้างข้อมูลที่หลงเหลือในรีจิสเตอร์หน่วยความจำ ส่งผลให้โปรแกรมเคาน์เตอร์ในซีพียูมีค่าเท่ากับ F000 ซึ่งเป็นเลขฐานสิบหก ตัวเลขนี้เป็นที่อยู่ของคำสั่งแรก และเพื่อบอกให้หน่วยประมวลผลพร้อมที่จะประมวลคำสั่งที่อยู่ใน BIOS (Basic Input/Output System)


4. ขั้นนี้เป็นขั้นทดสอบตัวเอง เรียกว่า POST (Power On Self Test) เพื่อตรวจสอบการทำงานของคอมพิวเตอร์ว่ามีการทำงานที่ถูกต้องหรือเปล่า ถ้าคอมพิวเตอร์ไม่ผ่านการทดสอบก็จะมีรหัสแจ้งเตือนเป็นเสียงขึ้นมา จะเรียกว่า Beep Code ซึ่ง Beep Code นั้น จะมีหลายรูปแบบ ดูได้ตามตารางข้างล่างนี้

(ที่มา: http://forum.dekitclub.com/index.php?topic=1143.0)


5.ถ้าคอมพิวเตอร์ผ่านการ POSTก็จะมองไปที่ 64 ไบต์แรกของหน่วยความจำที่อยู่ในชิป CMOS ซึ่งเก็บรักษาค่าที่เก็บไว้ให้คงอยู่ตลอดด้วย CMOS แบตเตอรี่ แม้คอมพิวเตอร์ถูกปิดหรือไม่มีไฟจ่ายเข้ามาชิปนี้จะบรรจุข้อมูล เช่น เวลาระบบ วันที่ และข้อมูลเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ทั้งหมดที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้

นี่คือ CMOS ฺBattery ค่ะ

6.BIOS จะตรวจสอบว่าเป็น Cold Boot หรือ Warm Boot สำหรับ Cold Boot ก็เป็นการ boot เครื่องที่อาศัยการทำงานของฮาร์ดแวร์ โดยการกดปุ่มเปิดเครื่อง ( Power On ) แล้วเข้าสู่กระบวนการทำงานโดยทันที ปุ่มเปิดเครื่องนี้จะอยู่บนตัวเคสของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ปิดเปิดการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเหมือนกับสวิทช์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป ส่วน Warm Boot เป็นการ boot เครื่องโดยทำให้เกิดกระบวนการ boot ใหม่หรือที่เรียกว่า การรีสตาร์ทเครื่อง  โดยมากจะใช้ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ (เครื่องแฮงค์) ซึ่งจำเป็นต้องมีการ boot เครื่องกันใหม่ สามารถทำได้ 3 วิธีคือ
  • กดปุ่ม Reset บนตัวเครื่อง (ถ้ามี)
  • กดปุ่ม Ctrl + Alt + Delete จากแป้นพิมพ์ แล้วเลือกคำสั่ง restart จากระบบปฏิบัติการที่ใช้
  • สั่งรีสตาร์ทเครื่องจากเมนูบนระบบปฏิบัติการ

7.ทำการทดสอบหน่วยความจำคอมพิวเตอร์(RAM) ที่ติดตั้งในคอมพิวเตอร์โดยการเขียนลงในแต่ละชิป สุดท้าย POST จะส่งสัญญาณไปยัง Floppy Drive, Optical Drive และHard Drive เพื่อที่จะทดสอบไดรฟ์เหล่านี้ หากไดรฟ์ทั้งหมดผ่านการทดสอบ กระบวนการ POST ก็จะเสร็จสมบูรณ์และสั่งคอมพิวเตอร์ให้เริ่มต้นกระบวนการของการโหลดระบบปฏิบัติการ

8. หลังการ POST คือ การเริ่มต้นกระบวนการของการโหลดระบบปฏิบัติการ BIOS ก็จะทำการ boot อุปกรณ์ตัวแรกที่ระบุไว้ ถ้าหากอุปกรณ์ไม่สามารถ boot ได้ BIOS ก็จะทำการ boot อุปกรณ์ลำดับที่ 2 หรือลำดับถัดๆไป

สำหรับวันนี้ก็มีเพียงเท่านี้ค่ะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับท่านที่ได้อ่านนะคะ หากผิดพลาดประการใด ก็ต้องขออภัยด้วยค่าา ^^


(อ้างอิง: http://www.suwanpaiboon.ac.th/wbi/page/na59.HTM)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น