วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559

การเลือกอุปกรณ์ประกอบคอมพิวเตอร์

สวัสดีค่ะ มาพบกันอีกแล้ว ...
คราวนี้จะมารีวิวถึงการเลือกอุปกรณ์ประกอบคอมพิวเตอร์โดยแบบที่ 1. สำหรับ โฮมออฟฟิศ ในราคา 17,500 บาท และ อัพเกรดเป็น แบบที่ 2. สำหรับ เริ่มต้นเล่นเกมมือใหม่ ในราคา 21,000 บาทค่ะ 

ก่อนอื่นเราต้องพิจารณาในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่เราควรต้องทำความเข้าใจก่อนศึกษาเรื่องอื่น โดยสิ่งที่ควรพิจารณานั้น นั่นก็คือ


ในการกำหนดระดับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม ก็จะทำให้เราได้สเปคเครื่องที่ตรงกับความต้องการ ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไปค่ะ


สำหรับในครั้งนี้นะคะที่จะมารีวิวก็ได้มีการกำหนดงบประมาณไว้ด้วย งั้นเรามาดูแบบแรกกันก่อนนะคะ ...

แบบที่ 1. สำหรับ โฮมออฟฟิศ ในราคา 17,500 บาท

สำหรับโฮมออฟฟิศ ก็จะเป็นเครื่องพีซีสำหรับผู้ใช้ที่ชอบติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ มีการใช้งานหลากหลายเช่น ตกแต่งภาพกราฟิกส์ งานเขียนโปรแกรม เล่นเกม ดูหนัง/ฟังเพลง มีการลงซอฟต์แวร์ใหม่ๆ เพื่อทดลองการใช้งาน อีกทั้งยังเหมาะกับกลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการความคล่องตัวในการทำงาน เครื่องที่ตอบสนองเร็วทันใจ ไม่ช้าจนน่ารำคาญค่ะ



จากภาพด้านบน ได้ทำการจัดสเปคเอาไว้แล้วในราคา 17,070 บาท ยังอยู่ในงบประมาณนะคะ ><
ต่อไปจะเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆที่ได้เลือกไว้
1.CPU 
CPU ที่เลือกคือ INTEL Pentium G4400 3.30 GHz ราคา 2,180 บาทที่เลือกรุ่นนี้ก็เพราะว่า สำหรับโฮมออฟฟิศอาจจะใช้งานคอมพิวเตอร์แบบปกติ พิมพ์งานเอกสาร กราฟิกนิดหน่อย การใช้ซีพียูตระกูลรุ่นเล็กอย่าง Sempron, Athlon จาก AMD หรือ Pentium, i3 จาก Intel ก็ดูจะเพียงพอแล้วซึ่งราคาไม่แพงด้วยค่ะ

รายละเอียด


2.Mainboard หรือ Motherboard

Mainboard หรือ Motherboard ที่เลือกคือ ASUS H110M-K D3 ราคา 2,300 บาทเมื่อเลือก cpu แล้ว ก็ต้องเลือกเมนบอร์ดให้เข้ากับ cpu ด้วยนะคะ cpu ที่เลือก socket จะเป็น LGA1151 เมนบอร์ดที่เลือกก็ต้องรองรับ socket  LGA1151 เช่นกัน

รายละเอียด
3.RAM
เป็นของ KINGSTON Hyper-X Fury DDR3 8GB 1866 (4GBx2) Black ราคา 1,340 บาท
สำหรับการเลือกแรมนั้นจะมีสองส่วนที่ควรพิจารณา ได้แก่บัสหรือความเร็วของแรม จะมีตั้งแต่ 1600, 1866 หรือ 2400 MHz สำหรับ DDR3 ซึ่งบัสที่สูงขึ้นก็แลกมาด้วยราคาที่สูงตามไปด้วย ซึ่งแรมที่มีค่า MHz สูง ๆ ก็เหมาะกับการใช้งาน งานที่ต้องการถ่ายโอนข้อมูลจำนวนมากระหว่างแรมเช่นงานตัดต่อวิดีโอ งานด้านกราฟิก และต้องเลือกให้เข้ากับเมนบอร์ดด้วยค่ะ RAM ที่เลือกเป็น DDR3 8 GB 1866 เมนบอร์ดก็ต้องรองรับชนิดของแรม DDR3 1866 เช่นกัน

หากเป็นไปได้ควรซื้อแรมแบบขายมาเป็นคู่ เช่น 4 GB สองแท่งในกล่องเดียว (4 GB x 2 = 8 GB) หรือ 8 GB สองแท่งในกล่องเดียว (8 GB x 2 = 16 GB) เพราะแรมนั้นหากต้องการใช้งานแบบ Dual Channel แล้วต้องใส่เป็นคู่พร้อมกัน และแรมที่ขายคู่กันเช่นนี้มีการทดสอบมาแล้วว่าใช้งานร่วมกันจะไม่มีปัญหาอย่างแน่นอน สำหรับมาตรฐานปัจจุบันการใช้งานต่ำ ๆ ควรอยู่ที่ 8 GB แล้ว (4 GB x 2) หากใช้งานหนักหน่วงกว่านั้นเช่นการตัดต่อวิดีโอหรือทำงานกราฟิก การใช้งานสัก 16 GB ก็เป็นตัวเลือกที่ดีหากงบนั้นเอื้ออำนวย เพราะโปรแกรมเหล่านี้มักกินแรมสูงมากในขณะที่ทำการเรนเดอร์ไฟล์หรือวิดีโอหรือทำงานเป็นเวลานาน


รายละเอียด


4.VGA 

เป็นของ ASUS R7 260X DC2OC ราคา 3,560 บาท
การ์ดจอที่เลือกจะเป็นระดับกลางๆ แต่ก็สามารถปรับกราฟิกได้สวยงาม และเหมาะกับการทำงานที่ใช้การประมวลผลจาก Graphics Processing Unit   มาก ๆ เช่นงานตัดต่อวิดีโอ เป็นต้น

รายละเอียด

5.HDD
เป็นของ WESTERN DIGITAL Blue 500GB WD5000AAKX ราคา 1,520 บาท
โดยยี่ห้อนี้จะมีการแบ่งสีด้วย สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป จะใช้งานกันส่วนใหญ่แค่สามสีแรกคือ Green, Blue, Black ซึ่งเรียงตามประสิทธิภาพโดย Green เป็นฮาร์ดดิสก์ที่เหมาะแก่การเก็บข้อมูลสำรองไว้ (เช่นการใช้งานแบบ External) และไม่ได้เรียกใช้งานบ่อย ๆ เนื่องจากประสิทธิภาพนั้นไม่ได้รวดเร็วทันใจมากนัก ส่วน Blue เป็นรุ่นระหว่าง Green, Black ที่เน้นประสิทธิภาพขึ้นมานิดหน่อย แต่ก็ยังประหยัดไฟอยู่ ส่วน Black เป็นรุ่นบนสุดที่เน้นความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล และแน่นอนว่ากินไฟมากที่สุดในสามสีนี้และเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลถ้าคาดหวังเรื่องความเร็ว เช่นเก็บเกม หรือไฟล์วิดีโอสำหรับใช้ในงานตัดต่อ

รายละเอียด

6.Case
เป็นของ COOLER MASTER Elite 311 (Black-Blue) ราคา 1,350 บาท
โดย Case ที่เลือกก็ต้องเลือกให้เข้ากับเมนบอร์ดเช่นกันค่ะ ชนิดของเมนบอร์ดจะเป็น mATX ซึ่ง Case ก็ต้องรองรับ เมนบอร์ดชนิด mATX ค่ะ

รายละเอียด

7.Power Supply
เป็นของ SUPERFLOWER Amazon 550W ราคา 1,850 บาท


รายละเอียด


8.Monitor หรือ จอแสดงผล
เป็นของ ACER E1942TC ราคา 2,970 บาท ขนาดของจอภาพแสดงผลควรเลือกขนาด 15-18 นิ้ว

รายละเอียด

ต่อไปจะทำการอัพเกรดเป็น แบบที่ 2. สำหรับ เริ่มต้นเล่นเกมมือใหม่ ในราคา 21,000 บาทค่ะ ก็จะเป็นคล้ายๆแบบแรกค่ะ แต่จะเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์บางตัวนะคะ ทำการจัดสเปคทั้งหมดรวม 20,920 บาทค่ะ



1.CPU 

จากแบบแรก Core i3 เลยอัพเป็น INTEL Core i5-4460 ราคา 6,490 บาทค่ะ หากอยากได้เพื่อเล่นเกมหรือทำงานที่หนักหน่วง เช่น ตัดต่อกราฟิกภาพ    ใหญ่ ๆ ทำงานด้านวิดีโอ การพิจารณาเลือกใช้ซีพียูระดับบนในตระกูล FX จาก AMD หรือ i5, i7 จาก Intel จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะ โดยเฉพาะหากมีการทำงานที่มีความซับซ้อนเช่นทำวิดีโอ หรือปั้นโมเดลสามมิติ การเลือกซีพียูระดับบนสุดจะเห็นผลชัดเจนมาก แต่หากนำมาเพื่อเล่นเกม อาจจะไม่จำเป็นต้องซื้อซีพียูในราคาที่สูงระดับนั้นก็ได้ แค่ core i5 ก็เพียงพอแล้วค่ะ

รายละเอียด



2.Mainboard หรือ Motherboard

เป็นของ ASUS H81M-A ราคา 2,150 บาทค่ะ เมื่อเปลี่ยน cpu แล้ว socket ก็เปลี่ยนด้วย เป็น LGA1150 เมนบอร์ดก็ต้องเปลี่ยนไปด้วยค่ะ เลยเลือกรุ่นนี้ที่รองรับ socket LGA1150

รายละเอียด





3.RAM

เป็นของ KINGSTON Hyper-X Fury DDR3 8GB 1600 (4GBx2) Black ราคา 1,340 บาทค่ะ RAM ก็เปลี่ยนจาก DDR3 8GB 1866 เป็น DDR3 8GB 1600 เพื่อให้เข้ากับเมนบอร์ดที่รองรับ RAM ชนิดนี้ค่ะ

รายละเอียด


4.VGA 
เป็นตัวเดิมนะคะ ของ ASUS R7 260X DC2OC ราคา 3,560 บาท 

รายละเอียด



5.HDD
เป็นตัวเดิมเช่นกันค่ะ เป็นของ WESTERN DIGITAL Blue 500GB WD5000AAKX ราคา 1,520 บาท

รายละเอียด



6.CASE
เป็นของ COOLER MASTER Elite 310 (Black-Blue) ราคา 1,290 บาท 

รายละเอียด

7.Power Supply
เป็นตัวเดิม ของ SUPERFLOWER Amazon 550W ราคา 1,850 บาท

รายละเอียด



8.Monitor หรือ จอแสดงผล
เป็นของACER S200HQLHb ราคา 2,720 บาท เมื่อจะอัพเกรดเป็นแบบเล่นเกม จอภาพก็ต้องอัพเกรดเพิ่มด้วย เพื่อความละเอียดค่ะ ถ้าใช้งานระดับสูงมากหน่อย ก็ควรเลือกจอภาพแบบ LCD 19-22 นิ้วค่ะ

รายละเอียด




ก็จบไปแล้วสำหรับการเลือกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์นะคะ หวังว่าจะมีประโยชน์สำหรับผู้อ่าน แต่ถ้าหากผิดพลาดประการใด ก็ต้องขออภัยด้วยค่ะ ^^

ใครอยากลองจัดสเปคคอมดูก่อนซื้อ ก็ลองเข้าไปที่เว็บนี้ได้นะคะ http://notebookspec.com/PCspec?pw=1 


อ้างอิง : http://thn21556com1.blogspot.com/p/blog-page_26.html
http://www.techblog.in.th/2015/03/24/pc-spec-build-your-own-pc-guide/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น